เม่นหมวกกันน็อค หรือเม่นหมวกเหล็ก (Colobocentrotus atratus) เป็นหอยเม่นชนิดหนึ่งที่พบในน่านน้ำชายฝั่งของมหาสมุทรอินโด-แปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย สายพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักจากหนามสีดำที่โดดเด่นและความสามารถในการอยู่รอดในแหล่งที่อยู่อาศัยที่หลากหลาย
เม่นหมวกกันน็อคเป็นสปีชีส์ที่ค่อนข้างใหญ่ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง (เปลือก) วัดได้สูงสุด 15 ซม. หนามยาว หนา และปกคลุมด้วยหนามเล็กๆ สีดำ ซึ่งเป็นชื่อสามัญของเม่นทะเล มีลักษณะกลม แบนเล็กน้อย และสีอาจแตกต่างจากสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีม่วง
ถิ่นอาศัย
ปกติแล้วสามารถพบได้ทั่วไปในเขต อินโด-แปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ในประเทศไทยจะพบได้ยากมาก ลักษณะของเม่นหมวกกันน็อค แปลกกว่าเม่นชนิดอื่นๆ หนามที่ปกคลุมลำตัวปรับรูปร่างไปเป็นแผ่นเหมือนกระเบื้องมุงหลังคาแทน เพื่อให้เหมาะกับถิ่นที่อยู่อาศัย เม่นชนิดนี้อาศัยในพื้นที่ที่มีคลื่นลมรุนแรงตลอดเวลา การมีหนามแหลมจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำรงชีวิต และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือคลื่นลมที่แรงทำให้มีนักล่าจำนวนน้อยที่จะเข้าถึงตัวพวกมันได้ สืบค้นข้อมูลงานวิจัยพบว่าได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบแรงยึดเกาะของเม่นหมวกกันน็อค Santos & Flammang (2007) โดยพบว่า เม่นหมวกกันน็อคสามารถต้านทานแรงปะทะคลื่นได้ตั้งแต่ความเร็ว 17.5 เมตรต่อวินาที ไปจนถึง 27.5 เมตรต่อวินาที ซึ่งหากเปรียบเทียบให้เห็นภาพความเร็ว 27.5 เมตรต่อวินาที คือเป็นแรงที่สามารถถอนต้นไม้ได้ทั้งต้น
การค้นพบสัตว์ชนิดนี้?
หอยเม่นหมวกกันน็อค พบได้ทั่วไปตามโขดหินตามชายหาดที่มีคลื่นซัดถึง ในแถบ Indo-West Pacific และฮาวาย แต่ในประเทศไทยมีรายงานการพบหอยเม่นชนิดนี้น้อยมาก โดยรายงานการพบครั้งแรกในปี 2530 โดย ดร.สมชัย บุศราวิช จากโครงการ First PMBC/DANIDA Training course and workshop on taxonomy, biology and ecology of echinoderms และมีรายงานการพบครั้งล่าสุดในปี 2547 โดย ดร.สุเมตต์ ปุจฉาการ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ในรายงาน Putchakarn.S and Sonchaeng.P (2004). Echinoderm Fauna of Thailand: History and Inventory Reviews. ScienceAsia 30 (2004): 417-428 ซึ่งทั้งสองครั้งพบที่เกาะราชา จ.ภูเก็ต
ขอบคุณข้อมูลจาก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ – Mu Ko Surin National Park